วรรณกรรมพื้นบ้านและลักษณะที่สำคัญ

Literature
Literature

วรรณกรรมพื้นบ้าน เป็นผลงานศิลปะ ที่ในปัจจุบันนี้ถือว่าเป็นสิ่งที่เราควรอนุรักษ์เอาไว้เป็นอย่างยิ่ง  เพราะกว่าที่ จะมีงานวรรณกรรมดีๆเกิดขึ้นให้เราได้ทำการเรียนรู้และศึกษาถือว่าไม่ใช่เรื่องที่ง่ายเลย  ซึ่งในส่วนของวรรณกรรมมีมากมายหลากหลายทั้งวรรณกรรมพื้นบ้านในแต่ละภาค  ซึ่งเป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นเพื่อถ่ายทอด เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละภูมิภาคนั้นๆโดยการใช้ภาษาพื้นบ้านในการถ่ายทอดนั่นเองและแน่นอนว่า  คำว่าวรรณกรรม หรือวรรณกรรมพื้นบ้าน  ก็เป็นผลงานที่เกิดขึ้นโดยการใช้ภาษาการพูด  รวมถึงการเขียนของกลุ่มคนแต่ละท้องถิ่น  ไม่ว่าจะเป็นวรรณกรรมพื้นบ้านภาคเหนือ  วรรณกรรมพื้นบ้านภาคอีสาน  และวรรณกรรมพื้นบ้านภาคใต้  สิ่งต่างๆในแต่ละภูมิภาคบอกเล่าเรื่องราวของแต่ละท้องถิ่น โดยเฉพาะจะมีการมุ่งเน้นเรื่องจารีตประเพณี  ชีวิตความเป็นอยู่  ทัศนคติและค่านิยม  ตลอดจนความเชื่อต่างๆ ของบรรพบุรุษ  ซึ่งเป็นพื้นฐานความคิดและพฤติกรรมที่เกิดขึ้นของคนในปัจจุบันนี้  ซึ่งวรรณกรรมพื้นบ้านที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี  เช่น นิทานพื้นบ้านไทยเรื่องจันทโครพ  นิทานพื้นบ้านไทย  วรรณกรรมพื้นบ้านเรื่องสังข์ทอง  นิทานพื้นบ้านภาคอีสานเรื่องท้าวเจ็ดหวดเจ็ดไห  และอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งวรรณกรรมต่างๆ เหล่านี้  ถือได้ว่าเป็นนิทานประเภทวรรณกรรมพื้นบ้าน  ที่เราได้ทำการเรียนรู้และศึกษากันมาตั้งแต่เด็ก  บางเรื่องจัดอยู่ในวิชาเรียน บางเรื่องเป็นนิทานที่ผู้เฒ่าผู้แก่รุ่นปู่ย่าตายาย  หรือพ่อแม่เราชอบเล่าสู่ลูกสู่หลานฟัง  เพื่อเป็นนิทานกล่อมนอนหรือเป็นนิทานเรื่องเล่าให้เราได้ฟังกันแบบเพลิดเพลิน

ลักษณะของวรรณกรรมพื้นบ้าน

ลักษณะที่สำคัญของวรรณกรรมพื้นบ้านถึงแม้ว่าจะมีความหลากหลายแตกต่างกันออกไปตามแต่ละภูมิภาคซึ่งถือได้ว่าวรรณกรรมต่างๆเหล่านั้นจะมีความเป็นเอกลักษณ์และมีการสืบทอดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมโดยการบอกเล่าสืบสานต่อกันมาโดยปากต่อปากและแพร่หลายกันมากในกลุ่มชนท้องถิ่นซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้ถือได้ว่าเป็นแหล่งข้อมูลที่ใช้ในการบันทึกด้านขนบธรรมเนียมประเพณีของท้องถิ่นซึ่งเป็นแบบฉบับให้คนรุ่นหลังได้เยอะ ถือและปฏิบัติตามโดยส่วนใหญ่แล้ววรรณกรรมพื้นบ้านจะไม่ปรากฏชื่อผู้แต่งและเรื่องราวต่างๆของวรรณกรรมนานๆจะเป็นการบอกเล่าแบบปากต่อปากสืบทอดกันมา จากรุ่นสู่รุ่นและโดยส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาท้องถิ่นลักษณะถ้อยคําที่เรียบเรียงขึ้นเป็นถ้อยคำง่ายๆสื่อความหมายแบบตรงไปตรงมาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อความบันเทิงและเพื่อสอนจริยธรรมรวมถึงขนบธรรมเนียมประเพณีของคนในท้องถิ่นนั้นๆด้วย

ความสวยงามของงานวรรณกรรมพื้นบ้านจึงเป็นสิ่งที่เราควรให้การอนุรักษ์โดยการสืบสานศิลปวัฒนธรรมรวมไปถึงถ่ายทอดเรื่องราวต่างๆที่มีมาจากสมัยก่อนไปสู่เยาวชนรุ่นหลังให้เรื่องราวต่างๆทางวรรณกรรมพื้นบ้านยังคงอยู่เพื่อเป็นสื่อสำหรับสอนวัฒนธรรมจารีตประเพณีอันดีงามของไทยสืบต่อไปนั่นเอง