วรรณกรรมศิลปกรรมท้องถิ่นภาคกลาง

วรรณกรรมศิลปกรรม
วรรณกรรมศิลปกรรม

ในประเทศไทยเราเองถือได้ว่าเป็นประเทศที่มีความโดดเด่นในเรื่องของศิลปะ วัฒนธรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่ง วรรณกรรมท้องถิ่นซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยอดีต เป็นเรื่องเล่าที่บอกต่อกันมายาวนานปากต่อปากจากรุ่นสู่รุ่น  วรรณกรรมต่างๆ เหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์  โดยเฉพาะอย่างยิ่งวรรณกรรมท้องถิ่นซึ่งเกิดขึ้นในแต่ละภาคนั้นเอง

ความหลากหลายของวัฒนธรรม  รวมไปถึงวรรณกรรมท้องถิ่น  มีให้เราได้เรียนรู้กันอย่างมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งวรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลาง  ซึ่งมีหลากหลายประเภทและแต่ละประเภทก็ล้วนแล้วแต่แสดงถึงเอกลักษณ์อันโดดเด่นเฉพาะตัว  ซึ่งเป็นศิลปะที่มีเสน่ห์ไม่ว่าใครที่ได้มาสัมผัสวรรณกรรมต่างๆเหล่านี้  ต่างก็หลงใหลและรักในวรรณกรรมท้องถิ่นของบ้านเรา  ซึ่งวรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลางจะประกอบไปด้วย วรรณกรรมประเภทต่างๆดังนี้

วรรณกรรมประเภทกลอนสวด  เป็นวรรณกรรมซึ่งเกิดจากการประพันธ์ด้วยกาพย์ยานี  กาพย์ฉบังและกาพย์สุรางคนางค์  การสวดหนังสือ  เป็นการอ่านวรรณกรรมทำนองต่างๆ สัตวิหารราย  หรือเป็นการสวดโอ้เอ้ศาลาราย  การสวดมาลัย  รวมไปถึงสวดคฤหัสถ์  การฟังบทสวดต่างๆที่เป็นทำนองของการสวดวรรณกรรมประเภทกลอนสวดนี้  นอกจากจะทำให้ผู้ฟังได้รับความเพลิดเพลิน  แล้วยังได้รับคติธรรมซึ่งเป็นแนวทางที่สามารถใช้ในการดำเนินชีวิตได้เป็นอย่างดี  ยกตัวอย่างเช่น สังข์ศิลป์ชัยกลอนสวน  โสนน้อยเรือนงาม  ปลาบู่ทองเป็นตน

วรรณกรรมประเภทกลอนบทละครนอก  เป็นวรรณกรรมประเภทหลอดเลือดประพันธ์เป็นตอนๆ  เพื่อที่จะใช้สำหรับเป็นบทละครตอน  ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเลือกตอนที่มีเนื้อเรื่องที่สนุกสนานจากวรรณกรรมท้องถิ่นต่างๆ  มาทำเป็นบทละคร  ดังนั้น  เราจะพบว่าวรรณกรรมประเภทบทละครนอก  จะมีเนื้อเรื่องที่ไม่จบเรื่องบริบูรณ์  ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะบอกเล่าถึงเรื่องราวที่มีความเป็นมาในแต่ละช่วงที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ หรือมีความสำคัญในเรื่องนั้นๆ ละครนอกซึ่งมาจากวรรณกรรมประเภทกลอนบทละครนอก  จะเป็นการแสดงของชาวบ้านนิยมเล่นกันตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น  ยกตัวอย่างเช่น  วรรณกรรมเรื่องพิกุลทอง  พระรถเมรี  สังข์ทอง  และมโนราห์  เป็นต้น

วรรณกรรมประเภทกลอนนิทาน  เป็นวรรณกรรมที่แตกต่างจากประเภทกลอนบทละคร  เพราะประเภทกลอนนิทานจะนิยมประพันธ์ตั้งแต่ต้นจนจบเรื่องบริบูรณ์  นิยมกันมากในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องโสนน้อยเรือนงามปลาบู่ทอง  นางสิบสอง  เป็นต้น  ส่วนใหญ่แล้วประชาชนในยุคนั้นจะนิยมซื้อนิทานเพื่อมาเล่าสู่กันฟังในครัวเรือนเพื่อความบันเทิง

วรรณกรรมประเภทกลอนแหล่  เป็นการนำเนื้อเรื่องตอนใดตอนหนึ่งในมหาเวสสันดรชาดก  มาประพันธ์เป็นรูปแบบกลอนแหล่  ซึ่งจะมีชื่อเรียกกันว่า  แหล่ใน  หรือส่วนหนึ่งจะมีการนำบางตอนของนิทานพื้นบ้านมาประพันธ์  เรียกว่า แหล่นอก นอกจากนี้ยังมีกลอนแหล่เบ็ดเตล็ด  เช่น  กลอนแหล่ให้พรกลอนแหล่บายศรี  หรือ  กลอนแหล่ทำขวัญนาค  เป็นต้น